ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

ซื้อพ.ร.บ. รวดเร็ว และประหยัดค่าเบี้ยกับเราทันที!

จุดเด่น

นำไปต่อภาษีได้ทันที

รับ พ.ร.บ. เข้าอีเมล์ง่ายๆ เพื่อนำไปต่อภาษีรถยนต์ได้ทันที

ซื้อออนไลน์ได้ตลอด 24 ชม.

ไม่ว่าจะซื้อตอนกี่โมง หรือตอนไหน ก็ซื้อได้ สบายๆกับการสั่งซื้อผ่านระบบทุกช่วง ทุกเวลา

ราคาไหนราคานั้น ไม่มีการบวกอะไรเพิ่ม

ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หรือค่าใช้จ่ายมกเม็ด ราคาที่โชว์คือราคาที่คุณชำระเท่านั้น

สะดวกและรวดเร็ว

รวดเร็ว ทันใจ สมัครและชำระเงิน และรอรับกรมธรรม์พร้อมรับกรมธรรม์ที่บ้านได้ทันที

ประกันภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. คืออะไร ?

หากคุณต้องการขับรถบนท้องถนน คนใช้รถทุกคนต้องมีกรมธรรม์ พ.ร.บ. กับรถคนนั้นๆ 

ประกันพ.ร.บ. หรือที่บางคนเรียกว่า พ.ร.บ. รถยนต์ คือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับที่ต้องทำตามกฎหมายสำหรับรถทุกคันที่มีการจดทะเบียน

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้ว่า รถทุกประเภทต้องมี พ.ร.บ. รถยนต์ ถ้าหากไม่ทำตามกฎหมาย จะถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท อีกทั้งยังต้องใช้ พ.ร.บ. รถยนต์ เพื่อต่อภาษีรถประจำปีด้วย

การมี พ.ร.บ. รถยนต์ มีความสำคัญมากกว่าเพียงการปรับโทษและการใช้เพื่อต่อภาษีเท่านั้น เพราะยังคุ้มครอง ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และคนเดินเท้าในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งอาจทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตบนท้องถนนได้เช่นกัน ซึ่งมีความสำคัญในชีวิตของเราอย่างไม่น้อย

พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง ?

หากเป็นฝ่ายผิด : 

จ่ายค่ารักษาสูงสุด - สูงสุด 30,000 บาทต่อคน

พิการ/เสียชีวิต - สูงสุด 35,000 บาทต่อคน

**รวมแล้ว หากเป็นฝ่ายผิดจะได้รับการชดเชยสูงสุดไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน

หากเป็นฝ่ายถูก : 

จ่ายค่ารักษาสูงสุด - สูงสุด 80,000 บาทต่อคน

พิการ/เสียชีวิต - สูงสุด 200,000 - 500,000 บาทต่อคน

ค่าชดเชย - 200 บาทต่อวันแต่ไม่เกิน 20 วัน

**รวมแล้ว หากเป็นฝ่ายถูกจะได้รับการชดเชยสูงสุดไม่เกิน ต่อคน 504,000 บาทต่อคน

การเคลมจาก พ.ร.บ.

1. แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อลงบันทึกประจำวัน.

2. เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล

3. ส่งเอกสารเบิกเคลมไปที่บริษัทประกันภัยที่ซื้อพ.ร.บ.

ผู้เอาประกันสามารถติดต่อกับทางบริษัทประกันที่ท่านได้ซื้อพ.ร.บ.ไว้ เพื่อให้ทางบริษัทประกันนั้นทำเคลมชดเชยเรียกร้องค่าเสียหายได้ทันที หรือหากไม่สะดวกทางผู้เอาประกันสามารถให้ทางโรงพยาบาลนำส่งเรื่องเคลมให้ท่านได้ โดยที่ท่านต้องให้สำเนากรมธรรม์กับทางโรงพยาบาลเพื่อให้ทางโรงพยาบาลส่งเอกสารไปให้ทางบริษัทประกัน

ทำไมต้องซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ มีความสำคัญขนาดไหน ? :

เพื่อนำไปต่อภาษีรถยนต์

การต่อภาษีรถยนต์นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้พ.ร.บ. ในการต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งผู้ใชรถทุกท่านต้องซื้อพ.ร.บ. เพื่อนำไปใช้ต่อภาษีกับทางขนส่ง

เพื่อคุ้มครองการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุนั้นเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การมีพ.ร.บ. รถยนต์นั้นจะช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายการรักษาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง การมีพ.ร.บ สำหรับความคุ้มครองนั้น ท่านสามารถดูได้ตามด้านบนได้ทันที





คำถามที่พบบ่อย

พ.ร.บ คืออะไร?

ประกันพ.ร.บ. หรือที่บางคนเรียกว่า พ.ร.บ. รถยนต์ คือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับที่ต้องทำตามกฎหมายสำหรับรถทุกคันที่มีการจดทะเบียน

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้ว่า รถทุกประเภทต้องมี พ.ร.บ. รถยนต์ ถ้าหากไม่ทำตามกฎหมาย จะถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท อีกทั้งยังต้องใช้ พ.ร.บ. รถยนต์ เพื่อต่อภาษีรถประจำปีด้วย

การมี พ.ร.บ. รถยนต์ มีความสำคัญมากกว่าเพียงการปรับโทษและการใช้เพื่อต่อภาษีเท่านั้น เพราะยังคุ้มครอง ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และคนเดินเท้าในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งอาจทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตบนท้องถนนได้เช่นกัน ซึ่งมีความสำคัญในชีวิตของเราอย่างไม่น้อย

กฏหมายการบังคับใช้ พ.ร.บ. นั้นออกมาเมื่อใด?

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. พ.ศ. 2535 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2536 กำหนดให้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ไฟฟ้าหรือพลังงานอื่นที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องยื่นขอประกันภัยนี้

กรมธรรม์ครอบคลุมอะไรบ้าง?

กรมธรรม์คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือการบาดเจ็บของบุคคลที่เกิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งรวมถึงคนขับเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้โดยสาร คนเดินถนน หรือทรัพย์สินที่อาจได้รับผลกระทบด้วย ในกรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะหรือสุขภาพเสียหาย ทายาทของผู้เสียชีวิตจะได้รับความคุ้มครองเช่นกัน

ความคุ้มครองของพ.ร.บ. นั้นพอมั้ย ต้องซื้อประกันอะไรเพิ่มรึเปล่า?

ความคุ้มครองของพ.ร.บ. นั้นจะคุ้มครองแค่การบาดเจ็บการอุบัติเหตุเท่านั้น ทางเราแนะนำหากมีการใช้รถเป็นประจำ ให้ซื้อประกันภาคสมัครใจเพิ่มเติม หรือที่พวกเรารู้จักกันว่า ประกันชั้น 1, ประกันชั้น 2+, ประกันชั้น 3+, ประกันชั้น 3 เช่นกัน ซึ่งพ.ร.บ. นั้นสามารถซื้อพ่วงไปกับประกันภาพสมัครใจได้ทันที

ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการซื้อ พ.ร.บ?

ผู้มีหน้าที่รับประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ได้แก่ เจ้าของรถ ผู้เช่าซื้อ หรือเจ้าของรถที่นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศไทย

กรมธรรม์สามารถต่ออายุได้หรือไม่?

ใช่ ต้องต่ออายุกรมธรรม์ทุกปีก่อนชำระภาษีรถประจำปี

จะเกิดอะไรขึ้นหากพบว่ารถไม่มีประกันภัย พ.ร.บ ?

หากฝ่าฝืน พ.ร.บ. จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

การซื้อประกันภาคบังคับอย่างเดียวเพียงพอหรือไม่ ?

ยังไม่พอ - เพราะการประกันภัยภาคบังคับครอบคลุมเฉพาะค่ารักษาพยาบาล/การรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้เอาประกันภัยเท่านั้น แต่ไม่ครอบคลุมถึงสิ่งต่างๆ เช่น ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ความเสียหายต่อตนเอง ไฟไหม้และการโจรกรรม และอื่นๆ อีกมากมาย หากคุณต้องการตรวจสอบการประกันภัยที่ครอบคลุมสำหรับรถของคุณ โปรดดูที่ ประกันรถ


การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับเป็นกรมธรรม์ประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดสำหรับรถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนในประเทศไทย ให้ความคุ้มครองสำหรับทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุทางรถยนต์โดยไม่คำนึงถึงความผิด และออกแบบมาเพื่อคุ้มครองบุคคลจากการสูญเสียทางการเงินเนื่องจากอุบัติเหตุ ในฐานะผู้ขับขี่ที่มีความรับผิดชอบ สิ่งสำคัญคือต้องทำประกันที่เหมาะสมเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของตัวเอง ผู้โดยสาร และคนอื่นๆ บนท้องถนน










พ.ร.บ ทั้งหมด :

รหัสรถ รายละเอียดรถ เบี้ยประกัน
1.10 รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง 646 เลือก
1.10E รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 646 เลือก
1.20A รถยนต์โดยสารไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,183 เลือก
1.20B รถยนต์โดยสารไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,204 เลือก
1.20C รถยนต์โดยสารไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,438 เลือก
1.20D รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง 4,018 เลือก
1.30A รถจักรยานยนต์เกิน 0 ซีซี ถึง 75 ซีซี 312 เลือก
1.30B รถจักรยานยนต์เกิน 75 ซีซี ถึง 125 ซีซี 474 เลือก
1.30C รถจักรยานยนต์เกิน 125 ซีซี ถึง 150 ซีซี 581 เลือก
1.30D รถจักรยานยนต์เกิน 150 ซีซี 796 เลือก
1.30E รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 474 เลือก
1.40A รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน 968 เลือก
1.40B รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 6 ตัน 1,311 เลือก
1.40C รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 12 ตัน 1,409 เลือก
1.40D รถยนต์บรรทุกเกิน 12 ตัน 1,827 เลือก
1.42A รถยนต์บรรทุกน้ำมันไม่เกิน 12 ตัน 1,806 เลือก
1.42B รถยนต์บรรทุกน้ำมันเกิน 12 ตัน 2,494 เลือก
1.50 หัวรถลากจูง 2,547 เลือก
1.60 รถพ่วง 646 เลือก
1.70A รถสามล้อเครื่อง 774 เลือก
1.70B รถสามล้อเครื่อง 431 เลือก
1.70E รถสามล้อเครื่องขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 538 เลือก
1.71 รถสามล้อดัดแปลง 431 เลือก
2.10 รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง(รับจ้าง) 2,042 เลือก
2.20A รถยนต์โดยสารไม่เกิน 15 ที่นั่ง(รับจ้าง) 2,494 เลือก
2.20B รถยนต์โดยสารไม่เกิน 20 ที่นั่ง(รับจ้าง) 3,739 เลือก
2.20C รถยนต์โดยสารไม่เกิน 40 ที่นั่ง(รับจ้าง) 7,156 เลือก
2.20D รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง(รับจ้าง) 8,080 เลือก
2.20E รถโดยสารระหว่างอำเภอไม่เกิน 15 ที่นั่ง(รับจ้าง) 1,699 เลือก
2.20F รถโดยสารระหว่างอำเภอไม่เกิน 20 ที่นั่ง(รับจ้าง) 2,429 เลือก
2.20G รถโดยสารระหว่างอำเภอไม่เกิน 40 ที่นั่ง(รับจ้าง) 4,094 เลือก
2.20H รถโดยสารระหว่างอำเภอเกิน 40 ที่นั่ง(รับจ้าง) 4,975 เลือก
2.40A รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน(รับจ้าง) 1,892 เลือก
2.40B รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 6 ตัน(รับจ้าง) 1,967 เลือก
2.40C รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 12 ตัน(รับจ้าง) 2,128 เลือก
2.40D รถยนต์บรรทุกเกิน 12 ตัน(รับจ้าง) 2,719 เลือก
2.42A รถยนต์บรรทุกน้ำมันไม่เกิน 12 ตัน(รับจ้าง) 2,128 เลือก
2.42B รถยนต์บรรทุกน้ำมันเกิน 12 ตัน(รับจ้าง) 3,289 เลือก
2.50 หัวรถลากจูง(รับจ้าง) 3,396 เลือก
2.60 รถพ่วง(รับจ้าง) 646 เลือก
2.70A รถสามล้อเครื่อง(รับจ้าง) 1,548 เลือก
2.70B รถสามล้อเครื่อง(รับจ้าง) 431 เลือก
2.71 รถสามล้อดัดแปลง(รับจ้าง) 431 เลือก
3.10 รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง(รับจ้าง) 2,042 เลือก
3.10E รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 2,042 เลือก
3.20A รถยนต์โดยสารไม่เกิน 15 ที่นั่ง(รับจ้าง) 2,494 เลือก
3.20B รถยนต์โดยสารไม่เกิน 20 ที่นั่ง(รับจ้าง) 3,739 เลือก
3.20C รถยนต์โดยสารไม่เกิน 40 ที่นั่ง(รับจ้าง) 7,156 เลือก
3.20D รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง(รับจ้าง) 8,080 เลือก
3.20E รถโดยสารระหว่างอำเภอไม่เกิน 15 ที่นั่ง(รับจ้าง) 1,699 เลือก
3.20F รถโดยสารระหว่างอำเภอไม่เกิน 20 ที่นั่ง(รับจ้าง) 2,429 เลือก
3.20G รถโดยสารระหว่างอำเภอไม่เกิน 40 ที่นั่ง(รับจ้าง) 4,094 เลือก
3.20H รถโดยสารระหว่างอำเภอเกิน 40 ที่นั่ง(รับจ้าง) 4,975 เลือก
3.40A รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน(รับจ้าง) 1,892 เลือก
3.40B รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 6 ตัน(รับจ้าง) 1,967 เลือก
3.40C รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 12 ตัน(รับจ้าง) 2,128 เลือก
3.40D รถยนต์บรรทุกเกิน 12 ตัน(รับจ้าง) 2,719 เลือก
3.42A รถยนต์บรรทุกน้ำมันไม่เกิน 12 ตัน(รับจ้าง) 2,128 เลือก
3.42B รถยนต์บรรทุกน้ำมันเกิน 12 ตัน(รับจ้าง) 3,289 เลือก
3.50 หัวรถลากจูง(รับจ้าง) 3,396 เลือก
3.60 รถพ่วง(รับจ้าง) 646 เลือก
3.70A รถสามล้อเครื่อง(รับจ้าง) 1,548 เลือก
3.70B รถสามล้อเครื่อง(รับจ้าง) 431 เลือก
3.70E รถสามล้อเครื่องขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 1,548 เลือก
3.71 รถสามล้อดัดแปลง(รับจ้าง) 431 เลือก
4.01 รถยนต์ป้ายแดง(การค้ารถยนต์) 1,645 เลือก
4.06 รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร 98 เลือก
4.07 รถประเภทอื่น ๆ 829 เลือก
4.07C รถประเภทอื่น ๆ (รับจ้าง/ให้เช่า) 829 เลือก
4.07P รถประเภทอื่น ๆ (ส่วนบุคคล) 829 เลือก